เทศบาลตำบลกลางดง
สภาพทางเศรษฐกิจ

 

สภาพทางเศรษฐกิจ

ด้านเศรษฐกิจ


   1. โครงสร้างทางเศรษฐกิจ โดยทั่วไปของเทศบาลตำบลกลางดง จัดได้ว่าอยู่ในระดับปานกลางเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่ยังพึ่งพาการเกษตรกรรมเป็นหลัก เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศและสภาพของดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะต่อการเพาะปลูกพืชไร่ พืชสวน ทำให้ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทางการเกษตร และนอกจากนี้ยังมีอาชีพที่สำคัญ ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์ การพาณิชยกรรม การอุตสาหกรรม และรับจ้าง

   2. การเกษตรกรรม ลักษณะการประกอบอาชีพการเกษตรกรรมในเขตเทศบาล โดยมีผลผลิตทางการเกษตร ที่สำคัญ เช่น น้อยหน่า มะม่วง ขนุน มะขามหวาน ฯลฯ โดยเฉพาะน้อยหน่านับว่าเป็นผลไม้ที่ทำชื่อเสียงให้กับชาวกลางดงเป็นอย่างมาก

   3. การพาณิชยกรรม สามารถแยกตามประเภทดังนี้

ตารางแสดงประเภทธุรกิจการค้า

 

ประเภทธุรกิจการค้า/การบริการ
จำนวน
1. ตลาด
5
2. ร้านอาหาร
38
3. ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง
2
4. ร้านแก๊ส
5
5. ร้านขายของชำ
60
6. ธนาคารพาณิชย์
1
7. แผงผลไม้
40
8. ปั๊มน้ำมัน
3
9. ปั๊มแก๊ส
2

 ที่มา : งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน เทศบาลตำบลกลางดง
  วันที่ 28 เมษายน 2554



   4. การอุตสาหกรรม บริษัท/ฟาร์ม ในเขตเทศบาลตำบลกลางดง มีโรงงานอุตสาหกรรมดังนี้

ประเภทโรงงานอุตสาหกรรม/บริษัท/ฟาร์ม
ขนาดแรงงาน
ใหญ่ กลาง เล็ก
1. บริษัทไมเนอร์ชีส (ผลิตเนย)
-
-
2. บริษัทไมเนอร์แดรี่ (ผลิตไอศกรีม)
-
-
3. บริษัทพรีเมียร์ แดรี่ฟู้ดส (ผลิตเนยแข็ง)
-
-
4. บริษัท H.T.M. นอร์ทอีสต์ จำกัด (ผลิตสี)
-
-
5. บริษัท โตโยมิลเลเนียมจำกัด
-
-
6. นายดำรงกิจ วิภาวัฒนกุล (ฟาร์ม)
-
-
7. นางฉลวย สังข์ทอง (ฟาร์ม)
-
-
8. นางฉวี สังข์ทอง (ฟาร์ม)
-
-
9. นายจุมพล บุญเยี่ยม (โรงงานอุตสาหกรรม)
-
-
10. นายสุวรรณ เลิศนิรัติวงษ์ (โรงงานอุตสาหกรรม)
-
-
รวม
2
2
6


ที่มา : งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน เทศบาลตำบลกลางดง
  วันที่ 28 เมษายน 2555



   5. การท่องเที่ยว ในเขตเทศบาลตำบลกลางดงมีสถานที่ท่องเที่ยวเป็นตลาดผลไม้กลางดง ตั้งอยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 149 -151 บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) เป็นตลาดผลไม้ที่มาจากไร่ในบริเวณนั้น ผลไม้ที่สำคัญได้แก่ น้อยหน่า ขนุน ลำไย ลิ้นจี่ มะละกอ มะม่วง กล้วย ฯลฯ และนอกจากนั้นยังเป็นตลาดขายพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ ทั้งไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ผล ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 146 - 148 บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ทั้งสองฝั่ง ส่วนบริเวณรอบเขตเทศบาลตำบลกลางดงมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่ง ได้แก่

   1. วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม เป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทศาสนาสถานและความงามตามธรรมชาติ ลักษณะเด่นอยู่ที่องค์หลวงพ่อขาว"พระพุทธสกลสีมามงคล"เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยคอนกรีตองค์ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประดิษฐานอยู่บนเขาสีเสียดอยู่ห่างจากเขตเทศบาลไม่มากนัก ทางทิศใต้ของเขตเทศบาลสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ภายในวัดร่มรื่นภูมิประเทศภายนอกวัดสวยงามและเป็นธรรมชาติ

   2. วัดถ้ำสามพี่น้อง (วัดพรหมประกาศิต) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเทศบาล มีเขตติดต่อกับแนวเขตเทศบาลภายในวัดมีกุฏิหลังใหม่ตั้งตระหง่านอยู่ริมเชิงเขาภายในกุฏิจะมีถ้ำโดยทางวัดได้จัดไฟฟ้าเพื่อให้เกิดความสว่างภายในถ้ำจึงสามารถเข้าไปในถ้ำได้อย่างชัดเจน

  3. วัดถ้ำโค ตั้งอยู่ที่บ้านหนองน้ำแดงห่างจากเทศบาลตำบลกลางดงประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นสำนักวิปัสสนาในความดูแลของวัดวชิราลงกรณ์วรารามวรวิหาร ประกอบด้วยถ้ำ 3 ถ้ำ คือ ถ้ำสังฆรังสี ถ้ำธรรมรังสีถ้ำพุทธรังสี ภายในถ้ำที่ 3 มีทางทะลุถึงกันได้โดยตลอด ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อย

   4. วัดวชิราลงกรณ์วรารามวรวิหาร อยู่ห่างจากเทศบาลตำบลกลางดงประมาณ 15 ก.ม. เป็นพระอารามหลวงมีมณฑปทำด้วยหินอ่อนภายในมีพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งแกะสลักจากหินบนภูเขาอันเป็นที่ตั้งของมณฑป โดยลอกแบบมาจากรอยพระพุทธบาทที่มีพิพิธพันธ์สถานแห่งชาติกรุงเทพฯ ภายในด้านหลังเป็นสถานที่ร่มรื่นสวยงามและเป็นที่ตั้งพระตำหนักของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

   5. อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อยู่ห่างจากเทศบาลตำบลกลางดงประมาณ 60 กิโลเมตร. เป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ มีภูมิประเทศสวยงามมีสถานที่ท่องเที่ยวในอุทยานหลายแห่ง เช่น น้ำตกเหวนรก น้ำตกผากล้วยไม้ ฯลฯ การเดินทางเข้าถึง สภาพโดยทั่วไปในอุทยานได้รับการดูแลอย่างดี

   6. รอยพระพุทธบาทกลางดง มีทางแยกจากถนนหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ตรงหลักกิโลเมตรที่ 154 - 155 ห่างจากถนนมิตรภาพ 5 กิโลเมตร ตั้งอยู่เชิงเขาหนองเครือคต โดยมีประวัติการพบเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2539 โดย จ.ส.อ.สัมฤทธิ์ แววมณี(หมอยิ้ม) ชาวปทุมธานีเป็นการค้นพบตามความฝันซึ่งเชื่อกันว่าเป็นรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากุกสันโธ พระพุทธเจ้าองค์แรกในภัทต์กัปนี้ นอกจากนี้ บริเวณรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ยังมีสถานที่ให้เดินชม เพื่อการศึกษาอีกหลายจุด เช่น หินรูปพระแท่นศิลาอาสหน์รูปช้าง หินรูปวานร รอยพระหัตถ์ รอยเท้าไก่ รอยเท้าช้าง รอยเท้าพญานาค ซากสถูปโบราณ หินดวงตา ลานหินผุด กำแพงแก้ว ปล่องเหวลึก หินเสียงกลอง หินเสียงระฆัง ฯลฯ

   7. วัดถ้ำสองพี่น้อง อยู่บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ตรงหลักกิโลเมตรที่ 146 เข้าไปประมาณ 900 เมตร มีเนื้อที่กว้างขวางประมาณ ไร่ ภายในวัดมีถ้ำ 1 ถ้ำ โดยมีทางขึ้นถ้ำเป็นบันไดประมาณ 300 ขั้น นอกจากนั้นยังมีอุโบสถซึ่งสร้างเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปอิริยาบถต่างๆของพระพุทธเจ้า และลายไทยสวยงาม ส่วนชั้นบนเป็นประติมากรรมแกะสลักประตูและหน้าต่าง

   6. การปศุสัตว์ ในเขตเทศบาลตำบลกลางดง มีการประกอบการปศุสัตว์หลายแห่ง ส่วนมากจะเป็นการเลี้ยงไก่ เลี้ยงนกกระทา โคนม ได้แก่
   1.ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ"เซ็นทาโกรฟาร์ม"เป็นฟาร์มขนาดใหญ่มีการเลี้ยงไก่ประมาณ 2,000 - 3,000 ตัว
   2.ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ"ฟาร์มยูไนเต็ดบัดดิ้ง"เป็นฟาร์มขนาดใหญ่มีการเลี้ยงไก่ประมาณ 2,000 - 3,000 ตัว
   3.ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ "เบทาโกรฟาร์มมิ่ง"เป็นฟาร์มมิ่งขนาดกลาง มีการเลี้ยงไก่ประมาณ 1,000 - 2,000 ตัว
   4.ฟาร์มโคนมขนาดเล็ก โดยมีการเลี้ยงโคนมในครัวเรือน ๆละประมาณ 3 - 5 ตัว ประมาณ 10 ครัวเรือน
   5.การเลี้ยงนกกระทา มีการเลี้ยงนกกระทาในเขตเทศบาลตำบลกลางดง 1 แห่งประมาณ 1,000 ตัว